ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้สักเท่าไรนัก แต่เชื่อไหมครับว่าในแวดวงคาวบอยตะวันตกนั้นมี ลุค ช้อร์ท อยู่ถึงสองคน
คนหนึ่งเป็นนักเขียนนิยายโคบาลตะวันตกที่มีชื่อเสียง
มีผลงานหลายเล่มจำนวนมากและโด่งดังไม่แพ้ หลุยส์ ลามูร์
ที่คอคาวบอยบ้านเรารู้จักกันดี
ทว่าชื่อ ลุค ช้อร์ท
ของนักเขียนนี้คนเป็นเพียงนามปากกา ชื่อจริงของแกคือ เฟรดเดอริค ดิลลี่ย์
กลิ๊ดเด้น
(Frederick Dilley Glidden) มีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1908 ถึง 1975 ไม่ทราบเหมือนกันว่าแกเลือกใช้นามปากกานี้เพราะอยากจะเลียนแบบคนอื่น หรือฟลุคตั้งขึ้นมาเองแล้วดันไปตรงกันโดยไม่รู้ว่าเคยมีคนชื่อนี้อยู่ก่อนแล้ว
(Frederick Dilley Glidden) มีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1908 ถึง 1975 ไม่ทราบเหมือนกันว่าแกเลือกใช้นามปากกานี้เพราะอยากจะเลียนแบบคนอื่น หรือฟลุคตั้งขึ้นมาเองแล้วดันไปตรงกันโดยไม่รู้ว่าเคยมีคนชื่อนี้อยู่ก่อนแล้ว
ส่วน ลุค ช้อร์ท
อีกคนหนึ่งเป็นตัวจริงเสียงจริง มีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1854 ถึง 1893 นั่นคือตายไปแล้วตั้ง 15 ปี
ก่อนที่คนเอาชื่อตัวไปใช้ทำนามปากกาเขียนหนังสือจนโด่งดังจะเกิดเสียอีก
(ไม่รู้เหมือนกันนะครับว่าถ้าอยู่ทันกันจะตามไปเอาปืนตามไปจี้เอาทวงชื่อคืนมา
หรือบังคับให้จ่ายค่าธรรมเนียม ฐานเอาชื่อไปใช้เสียดีๆโดยไม่ได้ขออนุญาตก่อนหรือเปล่า)
ลุค ช้อร์ท ตัวจริงนี้ เป็นนักพนันตัวฉกาจ และมือปืนระดับไร้เทียมทานอีกคนหนึ่งแห่งดินแดนตะวันตก
เป็นเพื่อนสนิทที่เป็นที่ไว้วางใจของทั้ง วายแอ็ท เอิ๊ร์ป และ แบ๊ท ม้าสเตอร์สัน
แล้วยังมีอีกอย่างที่หาได้ไม่ง่ายนักในแวดวงของมือปืนที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งหลาย
นั่นคือจบชีวิตลงด้วยการตายเองโดยไม่ได้ถูกใครยิง
ลุค ชอ้ร์ท มือปืนจิ๋วแต่เจ็บตัวจริง ที่ไม่ใช่นักเขียนนวนิยาย |
ประวัติของ ลุค ช้อร์ท
ในช่วงแรกๆค่อนข้างมัวซัว (หมายถึงไม่ค่อยละเอียดชัดเจนน่ะครับ)
ทราบแต่เพียงว่า เกิดในครอบครัวชาวไร่ปศุสัตว์ในฝั่งตะวันตกของเท็กซัส (Texas) มีพี่น้องอีก 2 คน เป็นชายหนึ่งหญิงหนึ่ง
ลุค ใช้ชีวิตในวัยเด็กและวัยรุ่น เป็นโคบาลต้อนวัวในไร่ของพ่อ
ในระหว่างนี้ ก็ชอบที่จะเล่นปืนและฝึกฝีมือในการใช้ปืนหกนัด ที่ข้างหลังยุ้งฉางในไร่อยู่เสมอ
จนไวและแม่นขนาดที่พูดกันว่า ลุคเป็นนักเลงปืนที่มีพรสวรรค์
อยากจะให้ลูกปืนวิ่งไปถูกเป้าตรงไหน ก็แค่ชี้ปากกระบอกปืนไปที่ตรงนั้น ลูกปืนจะวิ่งเข้าเป้าเป๊ะเหมือนตามสั่งเป็นไม่เคยพลาด
(แน่นอนครับว่าต้องง้างนกเหนี่ยวไกก่อนด้วย เดี๋ยวจะโม้มากไปหน่อย)
ลุคเป็นคาวบอยเท็กซัสที่ผ่าเหล่าอยู่อย่างหนึ่ง ตรงที่เกิดมาตัวเล็กกว่าเขา
คาวบอยเท็กซัสปกตินั้น ส่วนมากจะตัวสูงใหญ่ไม่ต่ำกว่าหกฟุุต (หรือไม่ต่ำกว่า 180.2 เซนติเมตร) ทั้งนั้น น้ำหนักตัวโดยทั่วไปเฉียดร้อยกิโลทุกคน
ส่วนลุคตัวเล็กมาตั้งแต่เด็ก
จนโตเต็มที่แล้วก็สูงเพียงห้าฟุตครึ่ง (ก็หรือราวๆ 165.7 เซนติเมตร
- ถือว่าเตี้ยกว่าชายหนุ่มไทยสมัยยุคใหม่นี้อีกนะครับ) และหนักเพียง 140 ปอนด์ (หรือประมาณ 64 กิโล) เท่านั้นเอง
ลุคจึงมักจะถูกพวกคาวบอยที่ตัวโตกว่า คอยต้อนเอาอยู่เสมอ
แต่ความที่ใจนักเลงไม่กลัวใคร ก็ไม่เคยถอย
มีเรื่องเล่าว่า
ลุคเริ่มไปโรงเรียน เมื่อตอนอายุเลยเกณฑ์ไปแล้วหลายปี
(ซึ่งเป็นธรรมดาของเด็กชาวไร่ในสมัยนั้น ที่มัวแต่เลี้ยงวัวที่บ้านอยู่) พออายุได้ 13 ก็เอามีดฟันนักเรียนโค่งคนหนึ่งเสียเหวอะหวะ
เป็นการตอบแทนโทษฐานที่หมอนั่นใช้ความได้เปรียบทางสรีระ มาเล่นรังแกข่มขู่ตัว
และด้วยเหตุนี้ ลุคก็เลยต้องออกจากโรงเรียนไปเสียก่อนจะได้เรียนให้จบ
ขณะนั้นเป็นปี ค.ศ. 1867
ไหนๆก็ต้องออกจากโรงเรียนแล้ว
ลุคจึงตัดสินใจออกจากบ้าน เพื่อออกไปเผชิญโชคในทุ่งกว้างเสียเลย เริ่มด้วยการเป็นโคบาลรับจ้างต้อนฝูงวัว จากเท็กซัสไปยังแคนซัส รับเงินเดือนๆละ 30 เหรียญ
ระหว่างทาง เมื่อหยุดพักตามเมืองต่างๆ ก็มีโอกาสได้เรียนรู้ และฝึกหัดการพนันไปจนเจนจัดด้วย
ระหว่างทาง เมื่อหยุดพักตามเมืองต่างๆ ก็มีโอกาสได้เรียนรู้ และฝึกหัดการพนันไปจนเจนจัดด้วย
พอย่างเข้าปี ค.ศ. 1870 เป็นช่วงที่อาชีพการล่าควายเพื่อแล่เนื้อถลกหนังไปขาย กำลังมาแรงและรายได้ดี
ลุคก็เอากับเขาด้วยพักนึง
จากนั้นลุคได้ผันตัวเข้าสู่วงการธุรกิจ
หรือจะเรียกว่าเซ็งลี้ก็คงไม่ผิดนัก และดูจะมีหัวในทางนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
มีไอเดียใหม่ๆล้ำหน้าจนคนอี่นคิดไม่ถึงอยู่เสมอ
เรียกได้ว่าเป็นพวกคิดนอกกรอบคนหนึ่ง
เริ่มต้นด้วยการเป็นเอเย่นต์เหล้า
(แต่ไม่รู้ว่าพ่วงเบียร์ด้วยหรือเปล่านะครับ) อยู่ที่เมือง ด๊อดจ์ ซิตี้ (Dodge City) ในแคนซัส (Kansas) ตั้งแต่ช่วงแรกๆสมัยเมืองเพิ่งจะเริ่มบูม
พอธุรกิจรายได้ดี มีคู่แข่งเข้ามาเยอะ ตลาดชักจะอิ่มตัว ลุคก็มองหาตลาดและกลุ่มลูกค้าใหม่ ที่ไม่มีใครเคยนึกถึงมาก่อน
พอธุรกิจรายได้ดี มีคู่แข่งเข้ามาเยอะ ตลาดชักจะอิ่มตัว ลุคก็มองหาตลาดและกลุ่มลูกค้าใหม่ ที่ไม่มีใครเคยนึกถึงมาก่อน
ได้แก่อินเดียนแดงยังไงครับ
เป็นที่รู้กันดีอยู่ในเวลานั้นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียนแดงกับคนผิวขาว
ตั้งแต่สงครามกลางเมืองยุติลงในปี ค.ศ. 1865 เป็นต้นมา แย่ลงตลอด
โดยเฉพาะในแถบเท็กซัส คนขาวถึงกับสอนลูกหลานให้เกลียดพวกอินเดียนกันตั้งแต่เกิดเลยทีเดียว (คงคล้ายๆประเทศแถวๆนี้ ที่ต่างฝ่ายต่างแข่งกันเขียนประวัติศาสตร์ลงในตำราเรียน สั่งสอนให้เกลียดประเทศเพื่อนบ้านกันตั้งแต่เด็กนั่นแหละครับ)
โดยเฉพาะในแถบเท็กซัส คนขาวถึงกับสอนลูกหลานให้เกลียดพวกอินเดียนกันตั้งแต่เกิดเลยทีเดียว (คงคล้ายๆประเทศแถวๆนี้ ที่ต่างฝ่ายต่างแข่งกันเขียนประวัติศาสตร์ลงในตำราเรียน สั่งสอนให้เกลียดประเทศเพื่อนบ้านกันตั้งแต่เด็กนั่นแหละครับ)
ลุคเองถึงจะเป็นชาวเท็กซัสทั้งแท่ง
แต่ก็เป็นคนรู้จักให้อภัยไม่ยึดติด
สามารถค้าขายกับพวกอินเดียนอย่างมั่นใจและสนิทสนม ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ
มิใยจะถูกคนนินทาว่าทำตัวไม่เหมาะสม
ที่เป็นคนขาวแล้วไปคบค้าทำมาหากินกับอินเดียนแดง ก็ไม่แคร์
เพราะฉันทำธุรกิจสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตนเอง อย่างสุจริตมาโดยตลอด ไม่ได้ทุจริตคดโกง หรือไปขโมยเหล้าใครมาขายซักกะหน่อย
เพราะฉันทำธุรกิจสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตนเอง อย่างสุจริตมาโดยตลอด ไม่ได้ทุจริตคดโกง หรือไปขโมยเหล้าใครมาขายซักกะหน่อย
ขออนุญาตนอกเรื่องนิดหน่อย
เพื่อเล่าเกร็ดสนุกๆ เกี่ยวกับเหล้าและอินเดียนแดง (จากมุมมองของคนขาว)
สักนิดนึงนะครับ
อันว่าเหล้าที่ขายให้พวกอินเดียนนั้น
ที่จริงก็คือวิ้สกี้นั่นเอง หมายถึงอเมริกันวิสกี้น่ะครับ ไม่ใช่สก๊อตช์ หรือเบอร์เบิ้น (เดี๋ยวท่านผู้อ่านที่เป็นคอวิสกี้ตัวจริงจะทักท้วงเอา)
ส่วนจะแตกต่างกันแค่ไหนอย่างไร รบกวนท่านผู้อ่านที่ติดใจสอบถามเอาเอง จากท่านผู้รู้ทั้งหลายก็แล้วกันนะครับ ขืนให้ผมอธิบายตรงนี้ เกรงว่าเดี๋ยวจะนอกเรื่องมากไป จนกลายเป็นเรื่องคาวบอยกับสุราคู่ใจไปแทน
ส่วนจะแตกต่างกันแค่ไหนอย่างไร รบกวนท่านผู้อ่านที่ติดใจสอบถามเอาเอง จากท่านผู้รู้ทั้งหลายก็แล้วกันนะครับ ขืนให้ผมอธิบายตรงนี้ เกรงว่าเดี๋ยวจะนอกเรื่องมากไป จนกลายเป็นเรื่องคาวบอยกับสุราคู่ใจไปแทน
วิสกี้เมื่อร้อยกว่าปีก่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นิยมวางขายตามหัวเมือง
คงพอคาดเดากันได้นะครับว่า ต้องเแรงชนิดบาดคอหอยซิบๆทั้งนั้น
ไม่มีคำว่าสุขุมนุ่มลึกอะไรทั้งสิ้น
ประเภทบ่มหมักในถังไม้โอ๊คจนกว่าจะได้ที่ เพราะเราไม่รีบร้อน เอาแต่นั่งเล่นหมากฮอสทั้งวัน อย่างของตาแจ๊คแดเนี่ยลส์ (Jack Daniels) ที่ชอบโฆษณากันเมื่อหลายปีก่อนนั่น คงไม่มีหรอก
ประเภทบ่มหมักในถังไม้โอ๊คจนกว่าจะได้ที่ เพราะเราไม่รีบร้อน เอาแต่นั่งเล่นหมากฮอสทั้งวัน อย่างของตาแจ๊คแดเนี่ยลส์ (Jack Daniels) ที่ชอบโฆษณากันเมื่อหลายปีก่อนนั่น คงไม่มีหรอก
เพราะฉะนั้นการจุดไฟติด จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดามาก พวกอินเดียนแดงเองก็เรียกวิสกี้ว่า Firewater หรือน้ำที่ลุกเป็นไฟได้นั่นแหละครับ
ที่มาของคำนี้ เล่ากันว่า มาจากธรรมเนียมที่คนขายจะต้องพิสูจน์ว่า วิสกี้ที่ตัวนำมาขายนั้น มีแอลกอฮอล์อยู่จริง ด้วยการรินใส่ถ้วยนิดนึง แล้วสาดเข้ากองไฟจนลุกพรึ่บให้เห็น
ถ้าไม่ทำอย่างนี้
พวกอินเดียนก็จะไม่ยอมซื้อ เพราะเกรงว่าอาจถูกหลอก
ด้วยเหตุนี้เอง อินเดียนแดงจึงพากันเรียกวิสกี้ว่า Firewater
ด้วยเหตุนี้เอง อินเดียนแดงจึงพากันเรียกวิสกี้ว่า Firewater
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1876-1878 พวกอินเดียนแดงเผ่าซูส์ (Sioux) และไชย์แอน (Cheyenne)
ก่อความไม่สงบขึ้น
รัฐบาลสหรัฐฯต้องส่งกองทัพเข้าปราบปรามเต็มรูปแบบ หลังจากที่นายพลคัสเตอร์ กับทหารม้ากองพันที่ 7 อีก 263 คนภายใต้บังคับบัญชาของตน ถูกพวกอินเดียนเผ่าซูส์ภายใต้การนำของหัวหน้าเผ่าที่ชื่อว่า วัวกำลังนั่ง (Sitting Bull) รุมล้อมกรอบจนเละเทะไม่เหลือรอดชีวิตกลับมาสักคนเดียว ในสงครามที่ ลิตเติ้ล บิ๊ก ฮอร์น (Battle of the Little Big Horn – ลิตเติ้ล บิ๊ก ฮอร์น เป็นชื่อแม่น้ำที่อยู่ใกล้กับสมรภูมิที่เกิดเหตุ จะแปลชื่อเป็นไทยให้ใกล้เคียงที่สุดก็คงต้องเรียกว่า แม่น้ำเขาใหญ่สายเล็ก กระมังครับ)
รัฐบาลสหรัฐฯต้องส่งกองทัพเข้าปราบปรามเต็มรูปแบบ หลังจากที่นายพลคัสเตอร์ กับทหารม้ากองพันที่ 7 อีก 263 คนภายใต้บังคับบัญชาของตน ถูกพวกอินเดียนเผ่าซูส์ภายใต้การนำของหัวหน้าเผ่าที่ชื่อว่า วัวกำลังนั่ง (Sitting Bull) รุมล้อมกรอบจนเละเทะไม่เหลือรอดชีวิตกลับมาสักคนเดียว ในสงครามที่ ลิตเติ้ล บิ๊ก ฮอร์น (Battle of the Little Big Horn – ลิตเติ้ล บิ๊ก ฮอร์น เป็นชื่อแม่น้ำที่อยู่ใกล้กับสมรภูมิที่เกิดเหตุ จะแปลชื่อเป็นไทยให้ใกล้เคียงที่สุดก็คงต้องเรียกว่า แม่น้ำเขาใหญ่สายเล็ก กระมังครับ)
ลุคไปสมัครเป็นแมวมองให้กับกองหน้าของฝ่ายทหาร
และทำหน้าที่ขี่ม้านำสารให้กับแม่ทัพใหญ่ด้วย
จากประสบการณ์สมัยที่เคยค้าขาย ทำให้รู้จักพื้นที่และเส้นทางในเขตของอินเดียนแดงเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบดาโกต้า (Dakota) และเนบร๊าสก้า (Nebraska)
จากประสบการณ์สมัยที่เคยค้าขาย ทำให้รู้จักพื้นที่และเส้นทางในเขตของอินเดียนแดงเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบดาโกต้า (Dakota) และเนบร๊าสก้า (Nebraska)
ตอนแรกๆ ลุคก็ทำงานได้ดี
เป็นที่ชื่นชอบไว้วางใจของแม่ทัพมาก
และรายได้จากการทำงานให้กับทหารก็ถือได้ว่าค่อนข้างสูง
แต่ความที่เลือดนักธุรกิจดูจะเข้มข้นไม่มีจืดจาง
ลุคจึงไม่พลาดโอกาสที่จะหาแสวงกำไรเพิ่ม
ด้วยการใช้เวลาระหว่างทำหน้าที่สอดแนมและเดินทาง แอบติดต่อค้าขายกับพวกอินเดียน
ทำไซ้ด์ไลน์ เม้คมันนี่ไปพร้อมๆกันด้วย
อาศัยว่าตัวเคยทั้งอยู่ในพื้นที่มาก่อน
และทั้งเป็นที่รู้จักกว้างขวางในหมู่พวกอินเดียนมาตั้งนานแล้ว
ก่อนพวกทหารจะเข้ามาเสียอีก
เลยมีแต่ได้กับได้ ทั้งขึ้นทั้งล่อง
เลยมีแต่ได้กับได้ ทั้งขึ้นทั้งล่อง
อย่างงี้จะเรียกว่า ผันวิกฤตให้เป็นโอกาส คงจะไม่ตรงประเด็นนักนะครับ คงต้องเรียกว่า ผันทุกโอกาสให้เป็นกำไรสูงสุด เสียละมากกว่า
ไม่นานนัก พวกทหารก็จับลุคได้คาหนังคาเขา
ที่บริเวณไม่ไกลจากค่ายโรบินสัน (Camp Robinson) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเนบร๊าสก้า
ขณะที่ลุคกำลังติดพันเจรจาต่อรองแลกเปลี่ยนสินค้ากับพวกอินเดียนว่า
จะเอาเหล้ากี่ขวดแลกหนังควาย 1 ผืนดี
หลังจากสอบสวนได้ความจริงทั้งหมด
ทหารก็ตัดสินว่าลุคมีความผิดตามกฎหมาย
โดยไม่สนใจว่าจะเป็นความบกพร่องโดยสุจริตหรือไม่
แล้วก็ควบคุมตัวลุคขึ้นรถไฟเพื่อจะนำไปติดคุกที่เมืองโอมาฮ่า (Omaha)
ลุคใช้ฝีไม้ลายมือของตัว หลบรอดจากการควบคุมของทหาร
โดดรถไฟหนีไปได้ แล้วมุ่งหน้าไปยังเมืองเดนเว่อร์ (Denver) ในโคโลราโด (Colorado)
ถึงตอนนี้ลุคคงจะรู้สึกว่า
การทำธุรกิจค้าขายอย่างที่ผ่านมานั้น ถึงแม้จะรายได้ดี แต่ก็เหนื่อยและอุปสรรคแยะ
กว่าจะได้สตังค์ทีนึง ต้องลงทุนลงแรงหลายอย่าง
ไหนจะต้องติดต่อหาแหล่งสินค้า
เจรจากับลูกค้า ควบคุมดูแลการขนส่ง หลบหลีกการปล้นหรือรีดไถ ตรวจสินค้า
ยังไม่นับที่ต้องระวังของแตกหักเสียหาย
แถมทำไปแล้ว ถึงจะไม่ได้ไปหลอกลวงหรือคดโกงใครมา
ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของภาครัฐและประชาชนทั่วไปอยู่ดี
คิดได้อย่างนี้แล้ว
ก็ต้องมองหาอาชีพใหม่ ที่ไม่ต้องเหนื่อยแรงเปลืองตัวเหมือนเดิมอีก
ความจริงถ้ายุคนั้นมีตลาดหุ้น ลุคก็คงจะหันไปเล่นหุ้นแทนแล้ว แต่เนื่องจากยังไม่มี ลุคก็เลยต้องเลือกทางออกที่ใกล้เคียงที่สุด
ความจริงถ้ายุคนั้นมีตลาดหุ้น ลุคก็คงจะหันไปเล่นหุ้นแทนแล้ว แต่เนื่องจากยังไม่มี ลุคก็เลยต้องเลือกทางออกที่ใกล้เคียงที่สุด
นั่นก็คือ การพนัน
ซึ่งสมัยนั้นนอกจากจะไม่ผิดกฎหมายแล้ว ยังเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายว่า เป็นอาชีพที่ทรงเกียรติ และมีหน้ามีตาอย่างหนึ่งเสียด้วย
ซึ่งสมัยนั้นนอกจากจะไม่ผิดกฎหมายแล้ว ยังเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายว่า เป็นอาชีพที่ทรงเกียรติ และมีหน้ามีตาอย่างหนึ่งเสียด้วย
ลุคตระเวณเล่นการพนันอยู่ที่เดนเว่อร์
และตามเมืองต่างๆในแถบโคโลราโดอยู่หลายปี ช่วงนี้ได้สตังค์เยอะแยะ
แต่ก็ไม่ได้สบายไปหมดเสียทีเดียวอย่างที่คิด เนื่องจากคู่เล่นประเภทแพ้ไม่เป็น และชอบใช้ความรุนแรง ยังมีอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองเล็กๆ ที่กฎหมายยังยื่นมือไปไม่ถึง
แต่ก็ไม่ได้สบายไปหมดเสียทีเดียวอย่างที่คิด เนื่องจากคู่เล่นประเภทแพ้ไม่เป็น และชอบใช้ความรุนแรง ยังมีอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองเล็กๆ ที่กฎหมายยังยื่นมือไปไม่ถึง
แถมความที่ตัวเล็กกว่าคนอื่นเขา
ก็เลยไม่ค่อยจะได้รับความเกรงใจจากพวกอันธพาลตัวโตนัก
ลุคก็เลยได้กลับมาใช้พรสวรรค์ในเรื่องปืนผาหน้าไม้ ที่ตัวถนัดมาตั้งแต่วัยเยาว์อีกครั้ง
ปืนคู่มือของลุคก็คือ โค้ลท์ ซิงเกิ้ล แอ๊คชั่น อาร์มี่ ขนาด .45 ลำกล้องตัดสั้น
อย่างที่เราๆท่านๆผู้เป็นแฟนปืนคาวบอยทั้งหลาย มักได้ยินกันบ่อยๆนั่นแหละครับว่า
ขึ้นชื่อว่าคาวบอยแล้ว ตัวเล็กตัวใหญ่ไม่สำคัญ หากมีปืนโค้ลท์อยู่ในมือแล้วละ
ทุกคนเท่าเทียมกันหมด ไม่มีคำว่าได้เปรียบเสียเปรียบอีกต่อไป
คนที่กระดิกนิ้วไวกว่าและแม่นกว่าเท่านั้นเป็นผู้ชนะ
และคนๆนั้นก็แน่นอนครับว่าต้องเป็น ลุค ช้อร์ท เสมอ
ต้นปี ค.ศ. 1881 ลุคได้รับการติดต่อจาก วายแอ็ท เอิ๊ร็ป
ซึ่งกำลังลงหลักปักฐานอยู่ที่เมืองทูมบ์สโตนในอริโซน่า
บอกว่ามาช่วยงานที่โอเรียนทัลซาลูน (Oriental Saloon) กันหน่อย
วายแอ็ทรู้จักลุคมาตั้งแต่สมัยอยู่ที่เมือง
ด๊อดจ์ ซิตี้ และคงรู้ฝีมือรวมทั้งนิสัยใจคออยู่พอสมควร
จึงชักชวนให้มาร่วมงานด้วย
เพราะก่อนหน้าที่จะติดต่อลุค วายแอ็ทก็ได้ชวน แบ๊ท ม้าสเต้อร์สัน เพื่อนคู่หูรู้ใจอีกคนหนึ่งของตัว ให้ลงมาช่วยอีกแรงนึงแล้วเหมือนกัน
เพราะก่อนหน้าที่จะติดต่อลุค วายแอ็ทก็ได้ชวน แบ๊ท ม้าสเต้อร์สัน เพื่อนคู่หูรู้ใจอีกคนหนึ่งของตัว ให้ลงมาช่วยอีกแรงนึงแล้วเหมือนกัน
ภาพถ่ายของเมืองทูมบ์สโตน เมื่อปี ค.ศ. 1881 ช่วงเวลาที่ ลุค ช้อร์ท ไปร่วมงานกับ วายแอ็ท เอิ๊ร์ป เป็นเจ้ามือไพ่ฟาโร อยู่ที่โอเรียนทัลซาลูน |
ลุคตอบรับคำชวนของวายแอ็ททันที เดินทางมาที่ทูมบ์สโตน รับหน้าที่เป็นเจ้ามือไพ่ฟาโรอยู่ที่โอเรียนทัลซาลูน
คืนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ระหว่างลุคกำลังทำหน้าที่เจ้ามืออยู่ ขาไพ่คนหนึ่งชื่อ ชาร์ลี
สตอร์มส์ (Charlie Storms) เกิดอาการหัวเสียไม่ได้อย่างใจขึ้นมายังไงก็ไม่ทราบ
ลุกขึ้นมาเอะอะอาละวาด
ลุคพยายามเกลี้ยกล่อมให้สงบลง
แต่ไม่สำเร็จ กลับยิ่งแผลงฤทธิ์หนักขึ้นไปอีก
ชาร์ลี สตอร์มส์
เป็นนักพนันที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดคนหนึ่งในดินแดนตะวันตก
และมือปืนฝีมือดีอยู่ในระดับแนวหน้าคนหนึ่ง เคยเอาชนะคู่ต่อสู้ในการดวลมาแล้วหลายครั้ง
ชาร์ลีไม่เคยรู้จักลุค
มิหนำซ้ำเห็นลุคเป็นแค่เจ้ามือตัวเล็กๆ ที่บังอาจเหิมเกริม ทำเป็นมาเจ้ากี้เจ้าการกำกับดูแล
ไม่รู้ซะแล้วว่าใครเป็นใคร
ก็เลยเบ่งใส่ ด้วยการใช้ความได้เปรียบทางด้านสรีระ
ตบหน้าสั่งสอนลุคไปเสียหนึ่งที เชื่อว่าพอโดนยังงี้เข้าสักที
ไอ้เจ้ามือตัวกะเปี๊ยกนี้ก็คงหงอไปเอง ไม่มีปัญญาหรือน้ำยาอะไรจะมาหือหรอก
ลุคถูกกระทำเข้าอย่างนี้
ก็ทำท่าว่าจะชักปืนของตัวออกมา
ชาร์ลีอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นนักเลงปืนเหมือนกัน เห็นอย่างนั้น ก็ทำท่าว่าจะชัก (ปืน) ของตัวออกมาบ้าง
ชาร์ลีอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นนักเลงปืนเหมือนกัน เห็นอย่างนั้น ก็ทำท่าว่าจะชัก (ปืน) ของตัวออกมาบ้าง
แต่ก่อนที่ทั้งคู่จะได้ชัก (ก็ปืนอีกนั่นแหละครับ) ออกมายิงกันจริงๆ
แบ๊ท ม้าสเตอร์สัน ซึ่งเป็นเพื่อนของทั้งสองคน และเห็นเหตุการณ์เข้าพอดี
ก็รีบทำหน้าที่กาวใจ เข้ามาขวางกลางระหว่างทั้งคู่ไว้เสียก่อน
แบ๊ทคว้ามือของชาร์ลีไว้ไม่ให้หยิบปืนได้
พร้อมกับหันไปบอกลุคว่าอย่ายิง
จากนั้นก็รีบลากตัวชาร์ลีออกจากซาลูนไปข้างนอกที่ถนน
เหตุการณ์จึงกลับเข้าสู่ความสงบดังเดิม
ฟังดูแล้วไม่เห็นมีอะไรตื่นเต้นเลยใช่ไหมครับ (โปรดรออีกสักครู่เดียว หรือท่านที่ดูหนังคาวบอยมามากๆแล้ว อาจจะพอเดาเหตุการณ์ต่อไปออกก็ได้)
บรรยากาศวงไพ่ ในซาลูนต่างๆตามหัวเมืองตันตกยุคนั้น คงไม่แตกต่างจากในรูปนี้นัก (เจ้ามือคือคนที่นั่งอยู่ทสงขวามือของโต๊ะ) |
ฟังดูแล้วไม่เห็นมีอะไรตื่นเต้นเลยใช่ไหมครับ (โปรดรออีกสักครู่เดียว หรือท่านที่ดูหนังคาวบอยมามากๆแล้ว อาจจะพอเดาเหตุการณ์ต่อไปออกก็ได้)
แบ๊ทบอกกับชาร์ลีว่า
ดึกมากแล้ว กลับบ้านไปนอนพักผ่อนให้สบายๆดีกว่า ทั้งวันเหนื่อยมาเยอะพอแค่นี้เถอะ
ชาร์ลีตอบว่าก็ได้
แต่ช่วยเดินไปส่งหน่อย
แบ๊ทตกลงเดินตามไปส่งถึงที่ห้องพัก ดูท่าทีว่าชาร์ลีคงจะเข้าไปนอนเรียบร้อยดีแล้ว ก็เดินกลับมาที่โอเรียนทัลซาลูน
แบ๊ทตกลงเดินตามไปส่งถึงที่ห้องพัก ดูท่าทีว่าชาร์ลีคงจะเข้าไปนอนเรียบร้อยดีแล้ว ก็เดินกลับมาที่โอเรียนทัลซาลูน
พอดีได้เวลาเลิกงาน
ลุคเดินออกมาจากร้าน กำลังจะกลับบ้านเหมือนกัน
แบ๊ทหยุดคุยกับลุคที่หน้าร้าน
บอกลุคว่า ชาร์ลีกลับบ้านไปนอนแล้ว
และพยายามจะอธิบายให้ลุคฟังว่า ชาร์ลีก็เป็นเพื่อนของตัวเหมือนกัน โดยปกติแล้วเป็นคนดีนิสัยคบได้ เมื่อกี้แค่เมามากไปหน่อย อย่าไปถือสาเลย
และพยายามจะอธิบายให้ลุคฟังว่า ชาร์ลีก็เป็นเพื่อนของตัวเหมือนกัน โดยปกติแล้วเป็นคนดีนิสัยคบได้ เมื่อกี้แค่เมามากไปหน่อย อย่าไปถือสาเลย
พูดยังไม่ทันจบ ก็เห็นหน้าชาร์ลี
ซึ่งตัวเพิ่งพาไปส่งบ้านเข้านอนอยู่หยกๆ โผล่ขึ้นที่ข้างหลังของลุค
และก่อนที่แบ๊ทจะได้ทันพูดหรือทำอะไรต่อไป ชาร์ลีก็คว้าตัวลุคจากข้างหลัง ลากออกไปที่กลางถนน
และก่อนที่แบ๊ทจะได้ทันพูดหรือทำอะไรต่อไป ชาร์ลีก็คว้าตัวลุคจากข้างหลัง ลากออกไปที่กลางถนน
ลุคหันตัวกลับมาเผชิญหน้ากับชาร์ลีอย่างกระชั้นชิด
ห่างกันแค่ไม่ถึงหนึ่งช่วงแขน ทั้งสองชักปืนออกจากซอง
ปรากฏว่า ลุคไวกว่ามาก
จ่อยิงชาร์ลีเข้าที่หน้าอกโดยไม่ต้องเล็ง ขณะที่ชาร์ลีเพิ่งจะดึงปืนพ้นซองเท่านั้น
อำนาจปะทะของกระสุน .45 และความร้อนจากการเผาไหม้ของดินปืนที่ยิงจากระยะประชิด
ทำให้ชาร์ลีกระเด้งถอยหลังออกไปเหมือนถูกถีบ หน้าอกเสื้อลุกติดไฟไหม้พรึ่บขึ้น
ลุคยิงซ้ำอีกนัดหนึ่ง ขณะที่ชาร์ลีกำลังล้มลงและสิ้นใจไปตั้งแต่ตัวยังไม่ทันแตะพื้น ไม่มีโอกาสได้ยิงตอบเลยสักนัดเดียว
ลุคเพ่งพิจารณาสภาพศพของชาร์ลีที่นอนตายอยู่บนถนน
มองดูเปลวและควันไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่บนหน้าอกเสื้อ ส่ายหน้าเล็กน้อยแล้วหันไปตะโกนบอกกับแบ๊ทว่า
ช่างเลือกคบเพื่อนได้อุบาทว์จริงๆ...
ช่างเลือกคบเพื่อนได้อุบาทว์จริงๆ...
งานนี้ลุคถูกตัดสินว่าไม่มีความผิด
เพราะเห็นชัดเจนว่าเป็นการต่อสู้ป้องกันตัวเองอย่างยุติธรรม
(ไม่รู้ว่าถ้าเป็นบ้านเราจะออกมาเป็นแบบนี้เหมือนกันหรือเปล่านะครับ)
แบ๊ทเองถึงจะเป็นเพื่อนกับชาร์ลี
แต่ก็ไม่ได้ติดอกติดใจอะไร เห็นว่าก็เพื่อนกันทั้งนั้น
เมื่อทั้งห้ามปรามทั้งปลอบใจกันเต็มที่แล้วไม่ได้ผล
ยังตามมามีเรื่องกันอีกก็ไม่รู้จะทำยังไง
ปล่อยให้ว่ากันไปเอง ตัวใครตัวมันก็แล้วกัน
ปล่อยให้ว่ากันไปเอง ตัวใครตัวมันก็แล้วกัน
ถึงต้นปี ค.ศ. 1883 มีข่าวจากเมือง ด๊อดจ์ ซิตี้ แว่วมาว่า ซี.เอ็ม. บีสัน (C.M.
Beeson) เจ้าของคนหนึ่งของลองแบร๊นช์ซาลูน (Long Branch
Saloon – ขออนุญาตขนานนามให้ว่า บาร์ก้านยาว ก็แล้วกันนะครับ
จะได้เขียนง่ายๆหน่อย) อันเป็นสถานเริงรมย์ชั้นนำของเมือง กำลังบอกขายหุ้นของตัว
ภาพเขียนแผนที่เมือง ด็อดจ์ ซิตี้ เมื่อปี ค.ศ. 1892 ปีเดียวก่อนที่ ลุค ช้อร์ท จะเข้ามาลงทุนทำธุรกิจสถานเริงรมย์และการพนัน |
ลุคพอทราบข่าวเข้า เลือดนักธุรกิจในตัวก็เริ่มฉีดแรง
เห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้เป็นเจ้าของกิจการระดับห้าดาว
โดยไม่ต้องบุกเบิกขึ้นเองใหม่ให้ลำบาก
จึงตัดสินใจย้ายกลับไปอยู่
ด๊อดจ์ ซิตี้ ซื้อหุ้นจากบีสัน เข้าเป็นเจ้าของบาร์ก้านยาวนี้แทน
หุ้นส่วนอีกคนหนึ่งของบาร์ก้านยาวนี้ชื่อ
วิลเลียม เอ๊ช. แฮริส (William
H. Harris) เป็นเศรษฐีนักธุรกิจระดับแนวหน้าคนหนึ่ง
แฮริสไม่ได้เป็นเพียงเจ้าของกิจการคนหนึ่งของบาร์ก้านยาว แต่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนหนึ่งของธนาคารด๊อดจ์ซิตี้ มีตำแหน่งบริหารในธนาคารเป็นถึงรองผู้จัดการใหญ่
แฮริสไม่ได้เป็นเพียงเจ้าของกิจการคนหนึ่งของบาร์ก้านยาว แต่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนหนึ่งของธนาคารด๊อดจ์ซิตี้ มีตำแหน่งบริหารในธนาคารเป็นถึงรองผู้จัดการใหญ่
แค่นั้นไม่พอ
ยังเป็นเจ้าของไร่ปศุสัตว์ และมีหุ้นโรงกลั่นสุราแห่งหนึ่งในรัฐเคนตั๊คกี้ด้วย
(ฟังๆดูก็เหมือนแฟชั่นบ้านเรา สมัยฟองสบู่ยังไม่แตกนะครับ
ที่พวกผู้บริหารและมนุษย์ทองคำตามบริษัทไฟแน้นซ์ จะต้องลงหุ้นเปิดผับหรือบริวเฮ้าส์ไว้สักแห่งนึง
แล้วก็ต้องไปซื้อที่ปลูกบ้านแบบล็อกโฮมสไตล์ลูกทุ่งตะวันตกตามทุ่งหญ้า
หรือไม่ก็ทุ่งเลี้ยงวัวแถวๆเขาใหญ่กัน)
มุมหนึ่งของ ลองแบร๊นช์ซาลูน หรือ บาร์ก้านยาว ในช่วงเวลาที่ ซี. เอ็ม. บีสัน ตัดสินใจขายหุ้นของตน ให้ ลุค ชอร์ท เข้ามาเป็นหุ้นส่วนเจ้าของแทน เทื่ิ ปี ค.ศ. 1883 |
ในช่วงที่ลุคเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหม่
แฮริสกำลังได้รับการเสนอชื่อ ให้ลงชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีอยู่ ต้องขับเคี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นคู่แข่งกันทางธุรกิจเริงรมย์ด้วย
สุดท้ายแล้ว แฮริสแพ้เลือกตั้ง
สุดท้ายแล้ว แฮริสแพ้เลือกตั้ง
ฝ่ายตรงข้ามพอได้ชัยชนะ
ก็รีบใช้อำนาจรัฐและกลไกของกฎหมาย เข้ากำจัดคู่แข่งทันที
วิธีการก็ไม่ต่างจากสมัยนี้สักเท่าไหร่หรอกครับ
นั่นก็คือ ออกกฎหมายที่ทำท่าว่าน่าจะเป็นการปฏิรูปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนออกมาสักฉบับนึง
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ให้ใช้บังคับกับเฉพาะคนอื่น ที่ไม่ใช่พวกของตนเท่านั้น
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ให้ใช้บังคับกับเฉพาะคนอื่น ที่ไม่ใช่พวกของตนเท่านั้น
เทศมนตรีชุดใหม่ ออกบทบัญญัติควบคุมสถานเริงรมย์มาฉบับหนึ่ง เมื่อวันที่
26 เมษายน ค.ศ.1883
พอประกาศใช้ ตำรวจก็บุกเข้าจับนักร้องหญิงสามคนของบาร์ก้านยาวทันที
พอประกาศใช้ ตำรวจก็บุกเข้าจับนักร้องหญิงสามคนของบาร์ก้านยาวทันที
ส่วนบาร์อื่นๆ ที่เป็นของนายกเทศมนตรีคนใหม่
ซึ่งก็มีนักร้องผู้หญิงหลายคน กลับไม่มีตำรวจเข้าไปจับ
วันต่อมา มีเพียงดนตรีเปล่าๆมาบรรเลงที่บาร์ก้านยาว โดยไม่มีนักร้อง
ตำรวจก็ตามเข้ามาจับนักดนตรีอีก โดยวงอื่นๆที่เล่นอยู่ในบาร์ของนายกเทศมนตรีคนใหม่ กลับไม่ถูกแตะต้องอีกเหมือนกัน
ตำรวจก็ตามเข้ามาจับนักดนตรีอีก โดยวงอื่นๆที่เล่นอยู่ในบาร์ของนายกเทศมนตรีคนใหม่ กลับไม่ถูกแตะต้องอีกเหมือนกัน
บรรยากาศของบาร์ก้านยาวในปัจจุบัน จัดทำขึ้นใหม่ ในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองเก่าของ ด๊อดจ์ ซิตี่ |
ภายนอกมีการแสดงย้อนยุค ให้นักท่องเที่ยวได้(เสียสตังค์)ชมด้วย |
เจอเข้าแบบนี้ ลุคก็มองออกแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น
ความที่ไม่เคยยอมแพ้คนตัวโตกว่า หรือยอมให้ใครมาใช้อำนาจข่มขู่ ลุคจึงรี่ไปที่ห้องขัง โดยไม่ลืมพกปืนไปด้วย กะจะเอานักร้องนักดนตรีของตัวกลับมา
แล้วก็ได้พบกับผู้คุม และตำรวจอีกคนหนี่งชื่อ ว่าแอล.ซี. ฮ้าร์ทแมน (L.C. Hartman) เข้าพอดี
ความที่ไม่เคยยอมแพ้คนตัวโตกว่า หรือยอมให้ใครมาใช้อำนาจข่มขู่ ลุคจึงรี่ไปที่ห้องขัง โดยไม่ลืมพกปืนไปด้วย กะจะเอานักร้องนักดนตรีของตัวกลับมา
แล้วก็ได้พบกับผู้คุม และตำรวจอีกคนหนี่งชื่อ ว่าแอล.ซี. ฮ้าร์ทแมน (L.C. Hartman) เข้าพอดี
ฮาร์ทแมนนอกจากจะเป็นตำรวจแล้ว
ยังดำรงตำแหน่งปลัดเมืองอีกด้วย
และเป็นตัวการนำลูกน้องบุกเข้าจับนักร้องนักดนตรีที่บาร์ก้านยาวเองทุกรอบ
งานนี้เลยพูดกันดีๆลำบากหน่อย
เพราะต่างฝ่ายต่างใส่อารมณ์เข้าหากัน
พอเห็นว่าไปไม่ถึงไหนซักที ก็เปลี่ยนเป็นใส่อาวุธแทน
ยิงกันไปได้คนละสามสี่เปรี้ยง
ลุคก็ล่าถอยกลับมาที่บาร์ก้านยาว หลังจากเห็นฮ้าร์ทแมนล้มลงไปในความมืด
โดยไม่รู้ว่าที่จริงแล้ว ฮ้าร์ทแมนแค่สะดุดขาตัวเองลงไปตะครุบกบเฉยๆ ไม่ได้ถูกลูกปืนเข้าแต่อย่างใด
โดยไม่รู้ว่าที่จริงแล้ว ฮ้าร์ทแมนแค่สะดุดขาตัวเองลงไปตะครุบกบเฉยๆ ไม่ได้ถูกลูกปืนเข้าแต่อย่างใด
วันรุ่งขึ้น ตำรวจแห่กันมาล้อมจับลุคไปตั้งข้อหาทำร้ายร่างกาย
ลุคได้พรรคพวกช่วยกันประกันตัวออกมา แล้วฟ้องกลับว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่
เลยถูกเจ้าหน้าที่ล้อมจับขังคุกอีกรอบ
ลุคได้พรรคพวกช่วยกันประกันตัวออกมา แล้วฟ้องกลับว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่
เลยถูกเจ้าหน้าที่ล้อมจับขังคุกอีกรอบ
ฝ่ายตรงข้ามซึ่งขณะนี้ถือไพ่เหนือกว่าหลายขุม
ยื่นข้อเสนอให้ลุคว่า มีทางเลือกสองอย่าง
อย่างหนึ่งคือขึ้นรถไฟสายตะวันตกไปให้พ้นจากเมืองเสีย
ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือสายตะวันออก
อย่างหนึ่งคือขึ้นรถไฟสายตะวันตกไปให้พ้นจากเมืองเสีย
ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือสายตะวันออก
ลุคเข้าใจสถานการณ์ดี
รู้ว่าตอนนี้จะต้องทำตัวอย่างไร แต่ก็ตัดสินใจเด็ดขาดแล้วว่า อย่างไรๆก็จะต้องกลับมาเอาคืนให้ได้
(ไม่รู้มีการเปล่งวาจาว่า ข้าจะกลับมาอีก หรือ I shall return เหมือนนายพลแม็คอาร์เธ่อร์ตอนที่ถูกญี่ปุ่นไล่ตีออกจากฟิลิปปินส์ไปหรือเปล่านะครับ)
หลังจากพิจารณาข้อเสนอดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็เลือกที่จะไปสายตะวันออก
หลังจากพิจารณาข้อเสนอดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็เลือกที่จะไปสายตะวันออก
วันที่ลุคออกเดินทางนั้น
ฝ่ายตรงข้ามลงทุนเกณฑ์ทั้งพรรคพวก และชาวบ้านติดอาวุธถึง 150 คน มาช่วยคุมตัวส่งคาวบอยตัวจิ๋วนี้ขึ้นรถไฟ
หลังจากนั้น ยังต้องผลัดกันทำหน้าที่เฝ้ายามที่สถานีทุกวัน
เพื่อคอยดูให้แน่ใจว่า ไม่ได้แอบเล็ดรอดดอดกลับมาอีก
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไป
คือระหว่างต้นเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนมิถุนายน
ท่านที่เคยติดตามคาวบอยกับปืนคู่ใจ ในตอนของ แบ๊ท ม้าสเตอร์สัน คาวบอยมาดลูกกรุง
มาแล้ว คงจะพอจำได้นะครับว่า เป็นช่วงของวิกฤตสงครามเมือง ด๊อดจ์ ซิตี้
หรือการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผู้มีอำนาจปกครองเมืองในขณะนั้นฝ่ายหนึ่ง
กับพวกของลุคอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยแกนนำคนสำคัญอย่าง แบ๊ท ม้าสเตอร์สัน
อดีตนักการเมืองท้องถิ่น และ วายแอ็ท เอิ๊ร์ป อดีตมือปราบคนสำคัญประจำเมือง
ทั้งสองยังคงไว้ซึ่งบารมี ได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชนในเมืองอยู่ไม่น้อย และต่างรีบเดินทางจากโคโลราโดมาช่วย ทันทีที่ได้รับการร้องขอจากลุคเพื่อนเก่า
ทั้งสองยังคงไว้ซึ่งบารมี ได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชนในเมืองอยู่ไม่น้อย และต่างรีบเดินทางจากโคโลราโดมาช่วย ทันทีที่ได้รับการร้องขอจากลุคเพื่อนเก่า
หลังจากที่ศึกษาและวิเคราะห์เหตุการณ์อย่างละเอียดแล้ว
ทั้งสามก็วางแผนการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม โดยใช้ทั้งการเมืองและการทหารควบคู่ไปพร้อมๆกัน
และไม่ลืมที่จะใช้การข่าวสนับสนุนด้วย
แบ๊ทอาศัยเส้นสายทางการเมือง
พาลุคเดินทางไปพบผู้ว่าการรัฐแคนซัสที่เมืองหลวง
เล่าเรื่องปัญหาของลุคที่ถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
เป็นการล้อบบี้ไว้ก่อน
ขณะที่วายแอ็ท ก็รวบรวมกำลังจากบรรดาอดีตมือปราบ
และมือปืนที่รู้ใจกันอีกร่วม 50 คน มาส้องสุมเตรียมพร้อมสำหรับการบุกเข้ายึดเมือง
ด๊อดจ์ ซิตี้ แบบสายฟ้าแลบ
จากนั้น วายแอ็ทกับพรรคพวกอีกสามสี่คน ก็แอบเดินทางเข้าไปในเมืองอย่างเงียบๆ เพื่อติดตามสถานการณ์และล้วงข่าวจากข้าศึก
คอยจังหวะเหมาะ เพื่อจะส่งรหัสนัดวันเวลาในการบุก ให้กับลุคและแบ๊ททราบ (ยังกับแผนการที่ญี่ปุ่นใช้บุกยึดเมืองไทย สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาเลยนะครับ)
คอยจังหวะเหมาะ เพื่อจะส่งรหัสนัดวันเวลาในการบุก ให้กับลุคและแบ๊ททราบ (ยังกับแผนการที่ญี่ปุ่นใช้บุกยึดเมืองไทย สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาเลยนะครับ)
ในที่สุดฝ่ายตรงข้าม ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนจากเบื้องบน
(คือผู้ว่าการรัฐ)
เนื่องจากถูกลุคล้อบบี้ไว้ก่อนแล้ว ก็ต้องยอมอ่อนข้อ กลับมาเจรจากับลุค
ยอมให้ลุคกลับเข้ามาทำมาหากินเป็นปกติได้ โดยรับรองว่าจะไม่มีการกลั่นแกล้งกันอีก
มีการตั้งคณะกรรมการรักษาความสงบประจำเมืองขึ้น โดยมีลุคร่วมเป็นกรรมการด้วยคนหนึ่ง
ยอมให้ลุคกลับเข้ามาทำมาหากินเป็นปกติได้ โดยรับรองว่าจะไม่มีการกลั่นแกล้งกันอีก
มีการตั้งคณะกรรมการรักษาความสงบประจำเมืองขึ้น โดยมีลุคร่วมเป็นกรรมการด้วยคนหนึ่ง
ลุคไม่ได้เป็นกรรมการประเภทนั่งกินค่าตอบแทนเฉยๆ คอยใช้แต่สิทธิประโยชน์อย่างเดียว
เพราะมีรายงานบันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.1883 ลุคสั่งจับตำรวจคนหนึ่ง ในข้อหาประพฤติมิชอบและเก็บส่วยรีดไถ
ทั้งนี้ คงเป็นเพราะว่าตัวเองมีประสบการณ์ เคยถูกผู้มีอำนาจเหนือกว่าข่มเหงรังแกมาแยะ
เมื่อมีอำนาจแล้ว ก็ต้องตอบแทนให้เข็ดหลาบกันเสียบ้าง
คณะกรรมการรักษาความสงบแห่งเมือง ด๊อดจ์ ซิตี่ ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก เมื่อปี ค.ศ. 1883 ลุค ช้อร์ท ยืนอยู่แถวหลัง คนที่สองจากทางซ้าย |
ลุคทำมาหากินอยู่ที่ในเมือง
ด๊อดจ์ ซิตี้ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก็ขายหุ้นของตัวเองในบาร์ก้านยาวไปเมื่อปลายปีนั้น แล้วเดินทางไปยังเมือง ฟอร์ท เวิร์ธ (Fort Worth) ในเท็กซัส หาลู่ทางทำมาหากินใหม่
อาจจะเป็นเพราะว่า การแข่งขันในธุรกิจสถานเริงรมย์ที่เมือง
ด๊อดจ์ ซิตี้ เริ่มเข้มข้นขึ้น
ถึงจะไม่มีการใช้เกมการเมืองเข้าแทรกเอารัดเอาเปรียบกัน
เปลี่ยนมาเป็นการค้าเสรีแล้ว ก็ยังต้องเหนื่อยพอควร ถึงจะรักษาลูกค้าไว้ได้
แถมยิ่งนานไป พอเศรษฐกิจเริ่มตกต่ำ คนมีสตังค์น้อยลง ก็ยิ่งลำบากและกำไรยากขึ้นอีก
แถมยิ่งนานไป พอเศรษฐกิจเริ่มตกต่ำ คนมีสตังค์น้อยลง ก็ยิ่งลำบากและกำไรยากขึ้นอีก
ลุคซึ่งมีเลือดนักธุรกิจเต็มตัว ก็คงจะมองอะไรทำนองนี้แหละครับ
เลยตัดสินใจรีบขายทิ้งเสีย ก่อนที่หุ้นจะตกรูดลงไปอีก
สู้เอาสตังค์ไปลงทุนที่อื่น ที่จะดูมีอนาคตไกล และยังไม่ค่อยมีคู่แข่งมากนักดีกว่า
สู้เอาสตังค์ไปลงทุนที่อื่น ที่จะดูมีอนาคตไกล และยังไม่ค่อยมีคู่แข่งมากนักดีกว่า
กาลเวลาพิสูจน์ว่า ลุคเป็นนักธุรกิจที่มองการณ์ถูกต้องนะครับ
เพราะในที่สุดแล้ว เมือง ฟอร์ท เวิร์ธ ก็แซงหน้าเมือง ด๊อดจ์ ซิตี้ไปในทุกทาง
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเป็นศูนย์กลางการค้าปศุสัตว์ และความเจริญก้าวหน้าอื่นๆ
บรรยากาศงานเทศกาลประจำปี บนถนนสายหลักที่มีการค้าปศุสัตว์ ของเมือง ฟอร์ท เวิร์ธ มลรัฐเท็กซัส (บันทึกภาพไว้เมื่อปี ค.ศ. 1982) |
ปัจจุบันเมือง ฟอร์ท เวิร์ธ
กลายเป็นเมืองใหญ่ลำดับต้นๆ แห่งหนึ่งของสหรัฐฯ คู่กับเมืองดาลลัส
มีสนามบินใหญ่ติดอันดับโลก
เมื่อหลายๆปีก่อนยังสามารถนั่งเครื่องการบินไทยบิน ตรงจากกรุงเทพฯไปถึงได้เลยด้วยซ้ำไป
ส่วนเมือง ด๊อดจ์ ซิตี้ นั้น
ถ้าไม่ใช่คอคาวบอยด้วยกันละก็ ผมเชื่อว่าเดี๋ยวนี้ไม่มีใครรู้จักอีกแล้วครับ
ก่อนจะเล่าต่อถึงเรื่องราวของลุคที่
ฟอร์ท เวิร์ธ
คงต้องบันทึกแถมไว้ให้เห็นกันชัดๆอีกทีนึงก่อนนะครับว่า ลุคนั้นเอาเรื่องขนาดไหน
นั่นคือ ในปี ค.ศ.1884 ลุคเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณะผู้บริหารเมือง ด๊อดจ์ ซิตี้ เป็นจำเลย
เรียกค่าเสียหายหนึ่งหมื่นห้าพันเหรียญ หรือถ้าเป็นสมัยนี้ ก็ประมาณห้าแสนกว่าบาท
เพื่อเป็นค่าชดเชย จากเหตุการณ์ที่ลุคโดนกลั่นแกล้งทางธุรกิจ และถูกไล่ออกจากเมืองไปในปีก่อนหน้านั้น
เพื่อเป็นค่าชดเชย จากเหตุการณ์ที่ลุคโดนกลั่นแกล้งทางธุรกิจ และถูกไล่ออกจากเมืองไปในปีก่อนหน้านั้น
โดยฝ่ายจำเลยยอมตกลงประนีประนอมกับลุค
ก่อนที่จะถึงชั้นศาล
ที่เมือง ฟอร์ท เวิร์ธ
ลุคเข้าซื้อกิจการของ ไว้ท์เอเลแฟ้นท์ซาลูน (White Elephant Saloon - ซึ่งต่อไปผมจะขอเรียกว่า บาร์ช้างเผือกก็แล้วกันนะครับ)
ร่วมกับหุ้นส่วนอีกคนชื่อ เจ๊ค จอห์นสัน (Jake Johnson)
บาร์ช้างเผือกแห่งนี้
ลุคเลือกแล้วว่า เป็นสถานเริงรมย์ชั้นดี มีลูกค้ามากมาย รายได้งาม
อยู่ในทำเลที่เหมาะสมใจกลางย่านบันเทิง ที่พวกคาวบอยชอบมาชุมนุมหาความสำราญ
จนเป็นที่เรียกขานกันทั่วไปว่า
Hell’s
Half Acre หรือแปลเป็นไทยได้ว่า ครึ่งแปลงของนรก (น่าจะเปรียบเทียบได้กับย่านอาร์ซีเอ
หรือ รอยัล ซิตี้ อเวนิว ของกรุงเทพฯเมื่อก่อน ที่ภายหลังมีคนเปลี่ยนชื่อให้เป็น
รอยัล ซิตี้ อเวจี นั่นแหละครับ)
ทุกอย่างคงจะราบรื่น
ถ้าเผอิญไม่มีคนสำคัญอีกคนหนึ่งที่ชื่อว่า จิม คอร์ทไร้ท์ (Jim
Courtright) อยู่ในเมืองนี้ด้วย
จิมเป็นมือปืนฝีมือระดับพระกาฬ
มีชื่อเสียงเป็นที่ครั่นคร้าม ทั้งในเท็กซัสไปจนถึง นิว เม็กซิโก และยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นนายอำเภอที่เมืองนี้มาแล้ว
แต่ความที่เป็นพวกชอบความรุนแรง
ยิงดะไม่บันยะบันยัง ไม่สนใจแยกคนที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากคนร้าย
หรือกังวลว่าลูกหลงจะไปโดนใครที่ไหนเดือดร้อน
อยู่ได้เพียงสามเดือนก็ถูกเชิญออกจากตำแหน่ง
จากนั้นเปลี่ยนงานไปรับจ้างเป็นผู้คุมเหมืองแร่บ้าง
ไร่ปศุสัตว์บ้าง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะเหตุผลเดียวกัน
ชีวิตเริ่มตกต่ำ ต้องไปรับจ้างเป็นนักเลงคุมบ่อน
ชีวิตเริ่มตกต่ำ ต้องไปรับจ้างเป็นนักเลงคุมบ่อน
จนท้ายสุด ไม่มีใครอยากว่าจ้างอีก
ก็เลยกลับมาเปิดสำนักงานนักสืบของตนเองขึ้นที่เมือง ฟอร์ท เวิร์ธ
อาศัยที่ตัวเองมีเครดิต เคยเป็นถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ แถมด้วยกิตติศัพท์เรื่องฝีมือในการใช้ปืนผาหน้าไม้ ที่ใครๆก็เกรงกลัว
อาศัยที่ตัวเองมีเครดิต เคยเป็นถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ แถมด้วยกิตติศัพท์เรื่องฝีมือในการใช้ปืนผาหน้าไม้ ที่ใครๆก็เกรงกลัว
สำนักงานนักสืบนี้ เป็นเพียงฉากบังหน้าครับ
เบื้องหลังฉากนั้น
วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือการรีดไถร้านค้าและธุรกิจต่างๆเป็นค่าคุ้มครอง
รายไหนไม่จ่าย ก็จะมีนักเลงอันธพาลมาคอยก่อกวนไม่ให้อยู่เป็นสุข
รายไหนไม่จ่าย ก็จะมีนักเลงอันธพาลมาคอยก่อกวนไม่ให้อยู่เป็นสุข
นี่ก็ถือว่าเป็นอาชีพเก่าแก่ ที่มีรายได้ดี และอยู่ยงคงกระพันมาถึงสมัยนี้เหมือนกัน
แน่นอนว่าบาร์ช้างเผือกของลุค
ย่อมติดกลุ่มเป้าหมายที่จิมต้องการจะได้เป็นลูกค้ารายใหญ่
แต่ตามทราบกันดีนั่นแหละครับว่า เจ้าของร้านนั้นก็ไม่ธรรมดา นอกจากจะรู้ทันเรื่องแบบนี้ดีแล้ว ยังไม่กลัวเสียด้วย
แต่ตามทราบกันดีนั่นแหละครับว่า เจ้าของร้านนั้นก็ไม่ธรรมดา นอกจากจะรู้ทันเรื่องแบบนี้ดีแล้ว ยังไม่กลัวเสียด้วย
ดังนั้น ทุกครั้งที่จิมพยายามจะเสนอสิ่งที่ลูกค้าทั่วไปไม่กล้าปฏิเสธ
กลับได้รับแต่คำตอบจากลุคว่า บาร์ช้างเผือกดูแลตัวเองได้
ไม่จำเป็นที่จะต้องรับการคุ้มครองจากใคร (ถ้าเป็นหนังไทย
ก็ต้องแถมด้วยว่าหรือสุนัขตัวไหน)
แล้วก็อย่ามาหาเรื่องกับคนชื่อ
ลุค ช้อร์ท เป็นอันขาด ถ้าไม่อยากเดือดร้อน
ภาพเขียนของ ลุค ช้อร์ท ฝีมือ ลีอา เอฟ. แม็คคารที |
เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ย่อมต้องเขม่นกัน
แต่จิมยังคงสงวนท่าที ไม่มีการใช้กำลังกันแต่อย่างใด
ถึงจะหมายหัวเอาไว้แล้วก็ตามว่า ลุคเป็นตัวเจ็บ ที่สักวันหนึ่งคงจะต้องเด็ดหัวทิ้งเสีย ไม่งั้นเดี๋ยวลูกค้าอื่นๆจะพลอยแข็งข้อตามกันไปหมด
ถึงจะหมายหัวเอาไว้แล้วก็ตามว่า ลุคเป็นตัวเจ็บ ที่สักวันหนึ่งคงจะต้องเด็ดหัวทิ้งเสีย ไม่งั้นเดี๋ยวลูกค้าอื่นๆจะพลอยแข็งข้อตามกันไปหมด
จิมเลยหันมาติดต่อกับเจ๊ค
เจ้าของอีกคนหนึ่งของบาร์ช้างเผือก และหุ้นส่วนของลุค
คืนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1887
จิมยืนเจรจากับเจ๊คอยู่ที่หน้าบาร์ช้างเผือก
ก็คงจะเป็นเรื่องอื่นไปได้ นอกจากค่าคุ้มครองนี่แหละครับ
ก็คงจะเป็นเรื่องอื่นไปได้ นอกจากค่าคุ้มครองนี่แหละครับ
เจรจากันหลายนาที ไม่มีท่าทีว่าจะเป็นผล เจ๊คก็ไปตามลุคออกมาจากร้าน ขณะที่จิมยังยืนรออยู่ข้างนอก
ลุคออกมาจากร้านด้วยกันกับเจ๊ค
เดินรี่เข้าไปหาจิม
แต่ด้วยเหตุผลอะไรมิอาจทราบได้ เจ๊คแยกตัวเดินออกห่าง เลี่ยงไปชิดกับขอบทางเดิน จนเกือบจะติดถนน ไม่ยอมเดินคู่กับลุค
แต่ด้วยเหตุผลอะไรมิอาจทราบได้ เจ๊คแยกตัวเดินออกห่าง เลี่ยงไปชิดกับขอบทางเดิน จนเกือบจะติดถนน ไม่ยอมเดินคู่กับลุค
จิมเห็นลุคเดินเดี่ยวเข้ามาไม่หยุด
ก็ตะโกนดังๆออกมาว่า “อย่าชักปืนออกมานะ!”
การตะโกนดังๆให้ชาวบ้านได้ยินอย่างนี้
ถือเป็นลูกไม้อย่างหนึ่ง ของพวกมือปืนที่คร่ำหวอดในวงการครับ
เป็นการหลอกให้ชาวบ้าน หรือผู้คนแถวนั้นที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว เข้าใจผิด นึกว่า ผู้ตะโกนกำลังถูกข่มขู่ปองร้าย
เป็นการหลอกให้ชาวบ้าน หรือผู้คนแถวนั้นที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว เข้าใจผิด นึกว่า ผู้ตะโกนกำลังถูกข่มขู่ปองร้าย
พอยิงอีกฝ่ายตายไปแล้ว
จะได้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับต่อสู้คดีว่า เป็นการป้องกันตัวเอง
มีประจักษ์พยานมากมายได้ยินว่า ตัวเองถูกประทุษร้ายอยู่ก่อน
มีประจักษ์พยานมากมายได้ยินว่า ตัวเองถูกประทุษร้ายอยู่ก่อน
ลุคเข้าใจลูกไม้ของจิมดี
จึงหยุดเดิน และแก้เกมด้วยการตะโกนออกไปดังๆบ้างว่า “ไม่ได้พกปืนมาด้วยหรอก!”
และเพื่อให้แนบเนียนยิ่งขึ้น
ก็เลื่อนมือขวาลงจับชายเสื้อนอกที่ระดับเอว ทำทีว่าจะเลิกชายเสื้อขึ้น
เหมือนต้องการให้จิมเห็นกับตาว่า นี่ไงเห็นมั้ย ไม่ได้คาดปืนมาสักหน่อย
เหมือนต้องการให้จิมเห็นกับตาว่า นี่ไงเห็นมั้ย ไม่ได้คาดปืนมาสักหน่อย
จิมไม่คาดคิดมาก่อน ว่าจะโดนสวนกลับด้วยลูกเล่นแบบนี้
แต่ก็ไม่มีเวลาชั่งใจอีกแล้ว ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ตัดสินใจกระตุกมือขวาขึ้นคว้าปืนที่เอวทันที
สัญชาตญานของมือปืน ผู้ช่ำชองและมากด้วยประสบการณ์ในการต่อสู้บอกว่า ต้องยิงก่อนแล้วละ อย่าได้รอช้าเป็นอันขาด
แต่ก็ไม่มีเวลาชั่งใจอีกแล้ว ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ตัดสินใจกระตุกมือขวาขึ้นคว้าปืนที่เอวทันที
สัญชาตญานของมือปืน ผู้ช่ำชองและมากด้วยประสบการณ์ในการต่อสู้บอกว่า ต้องยิงก่อนแล้วละ อย่าได้รอช้าเป็นอันขาด
ลุคเตรียมพร้อมรออยู่แล้ว
จึงชักปืนคู่ใจ โค้ลท์.45 ลำกล้องสั้น ออกมาบ้าง
และด้วยความได้เปรียบของปืนลำกล้องสั้น
กับความไวที่เหนือกว่า ลุคจึงยิงเข้าใส่จิมได้ก่อน จากระยะประมาณสี่ฟุตเท่านั้น
เสียงปืนดังสนั่น ควันปืนพุ่งเข้าใส่จิมจนเกือบจะมองอะไรไม่เห็น
เสียงปืนดังสนั่น ควันปืนพุ่งเข้าใส่จิมจนเกือบจะมองอะไรไม่เห็น
จิมทราบได้เดี๋ยวนั้นว่า ลุคยิงนัดแรกไม่ถูกตัว
แต่รู้สึกชาที่หัวแม่มือขวาไปหมด จนไม่สามารถง้างนกเพื่อจะยิงตอบได้
สมองของจิมสั่งการทันที ให้รีบย้ายปืนจากมือขวาไปไว้มือซ้าย
ตามสไตล์ที่นิยมเรียกกันในยุคนั้นว่า บอร์เด้อร์ ชิฟท์ (Border
Shift) เพื่อจะยิงด้วยมือซ้ายแทน
แต่ในขณะที่กล้ามเนื้อกำลังเร่งรีบทำตามคำสั่งสมองนั้น
จิมก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นอีกติดๆกันสามนัด
ตามมาด้วยหมอกควันที่หนาทึบยิ่งขึ้นไปอีก
หนนี้รู้สึกเจ็บแปล๊บลึกเข้าที่หน้าอก
ตาพร่ามัวก่อนที่จะหมดความรู้สึกไป โดยไม่มีวันที่จะฟื้นคืนขึ้นมาอีก
จิม คอร์ทไร้ท์ มือปืนระดับพระกาฬแห่งเมือง ฟอร์ท เวิร์ธ ต้องพลาดท่าเสียที เสียนิ้วหัวแม่มือ และในที่สุดก็เสียชีวิต จากการดวลปืนกับ ลุค ช้อร์ท |
การเพลี่ยงพล้ำของ จิม
คอร์ทไร้ท์ ให้กับ ลุค ช้อร์ท กลายเป็นข่าวใหญ่เลื่องลือไปไกล
ถือเป็นการชิงไหวชิงพริบและประลองฝีมือกันอย่างสมศักดิ์ศรี
ระหว่างมือปืนรุ่นใหญ่ตัวเล็ก (คือลุค) กับมือปืนรุ่นใหญ่ผมยาว (คือจิม
ซึ่งตามหลักฐานบอกว่า ไว้ผมยาวประบ่าอยู่เสมอ)
ซึ่งถ้าดูจากประวัติการดวลแล้ว
วงการพนันน่าจะให้จิมเป็นต่อ เพราะใช้ชีวิตเป็นมือปืนมาติดต่อกันนานกว่า และยิงคู่ต่อสู้ตายไปหลายคนแล้ว
ขณะที่ลุคนั้น
ใช้เวลาไปกับการเซ็งลี้เสียเป็นส่วนใหญ่
นานๆถึงจะมีเรื่องยิงกับคนอื่น อย่างเป็นงานเป็นการสักทีนึง
แต่แล้ว จิมกลับพ่ายแพ้ให้แก่ลุคอย่างหมดรูป หมดอนาคตไปเลย ไม่ว่าจะในเรื่องฝีมือหรือไหวพริบ รวมทั้งการใช้ลูกไม้หลอกล่อในการชิงความได้เปรียบ
นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่า
จิมซึ่งตามหลักฐานบอกว่าพกปืนสองกระบอก น่าจะตัดสินใจชักกระบอกซ้ายออกมายิง
แทนที่จะใช้วิธี บอร์เด้อร์ ชิฟท์
เพราะเมื่อมีการตรวจสอบในภายหลังพบว่า
ปืนกระบอกขวานั้นยังไงๆก็ไม่มีทางยิงออก เพราะลูกโม่ติดขัดหมุนไม่ได้
ใช่แล้วครับ
กระสุนนัดแรกของลุคที่ยิง ไม่ได้แค่วิ่งไปถูกหัวแม่มือของจิม จนง้างนกไม่ได้แต่เพียงอย่างเดียว
ยังได้กระแทกเอาลูกโม่ปืนของจิมจนชำรุดไปด้วย
ขอกล่าวถึงเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับบาร์ช้างเผือกที่เมือง ฟอร์ท เวิร์ธ นี้ เพิ่มเติมอีกสักนิดนะครับ
ปัจจุบันยังเปิดกิจการอยู่ครับ ถึงแม้จะไม่ใช่ร้านเก่าดั้งเดิมแห่งเดียวกันกับที่ลุคเคยเป็นเจ้าของอยู่ก็ตาม
บาร์นี้เคยติดอันดับ Best 100 Bars in America หรือหนึ่งในร้อยอันดับแรก ของบาร์ที่ดีที่สุดในอเมริกา จากการจัดอันดับของนิตยสาร Esquire เสียด้วย
ปัจจุบันยังเปิดกิจการอยู่ครับ ถึงแม้จะไม่ใช่ร้านเก่าดั้งเดิมแห่งเดียวกันกับที่ลุคเคยเป็นเจ้าของอยู่ก็ตาม
บาร์นี้เคยติดอันดับ Best 100 Bars in America หรือหนึ่งในร้อยอันดับแรก ของบาร์ที่ดีที่สุดในอเมริกา จากการจัดอันดับของนิตยสาร Esquire เสียด้วย
ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ของทุกปี จะมีงานแสดงแสงสีเสียงที่ตรงหน้าร้าน
ฉลองครบรอบการยิงกันระหว่าง ลุค ช้อร์ท กับ จิม คอร์ทไร้ท์ โดยคณะนักแสดงมืออาชีพ
แต่งตัวย้อนยุคเป็นสองคนนี้ออกมายิงกันให้ดู หลอกเอาสตังค์นักท่องเที่ยวเป็นประจำ
นอกจากนั้น ภายในบาร์ยังมีของสะสม เป็นหมวกคาวบอยมากมายหลายรูปแบบ ไว้โชว์แขก
แถมด้วยตุ๊กตาช้างจากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งจากเมืองไทย
นักแสดงกำลังโชว์เหตุการณ์รำลึกถึงการดวลปืน ระหว่าง จิม คอร์ทไร้ท์ (ซ้่าย) กับ ลุค ชอ้ร์ท (ขวา) บริเวณหน้า ไว้ท์เอเลแฟ้นท์ ซาลูน หรือบาร์ช้างเผือก ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ |
ที่ตั้งของบาร์ช้างเผือกดั้งเดิม ที่มีการยิงกันจริงๆ (รูปบน ตึกสีแดงทางซ้ายมือ) เปรียบเทียบกับที่ตั้งซึ่งย้ายมาทำใหม่ในปัจจุบัน (รูปล่าง ตึกทางซ้ายมือมีป้ายชื่อ) |
หลังการดวล ลุคถูกจับ และประกันตัวออกมาด้วยเงิน 2000 เหรียญ
ศาลตัดสินในภายหลังว่า เป็นการต่อสู้ป้องกันตัวเองโดยไม่มีความผิด สามารถกลับไปบริหารธุรกิจของบาร์ช้างเผือกให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป
และไม่มีนักเลงที่ไหนกล้ามารบกวนอีก
แต่น่าเสียดาย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะชอบกินเค็มมากไปหน่อยหรือเปล่า
ลุคป่วยเป็นโรคไตรักษาไม่หาย
และอาการกำเริบ จนตายไปอย่างสงบบนเตียง โดยไม่ได้ใส่รองเท้าบู๊ท เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1893 รวมอายุได้เพียง 39 ปี
ศพของลุคถูกฝังไว้ที่สุสานโอ๊ควู้ด
(Oakwood
Cemetery) ในเมือง ฟอร์ท เวิร์ธ ห่างจากหลุมศพของ จิม คอร์ทไร้ท์
คู่ปรับของตัวเพียงไม่กี่ก้าว
ผมได้เล่าเรื่องของคาวบอย ที่ผมเห็นว่าเป็น สุดยอดของมือปืนตะวันตก ให้ท่านผู้อ่านรู้จักตัวตน อย่างค่อนข้างละเอียดไปแล้วสี่คนนะครับ
โดยผมใช้วิธีกำหนดคุณสมบัติของการที่จะได้รับคัดเลือกว่าเป็นสุดยอด ไว้เพียงสองข้อเท่านั้น
(ขอรับรองไม่มีการล็อคสเป๊ค)
ข้อแรก คือ
จะต้องไม่ใช่พวกโจรผู้ร้ายปล้นฆ่าชิงทรัพย์คนอื่น
หรือชอบข่มเหงไล่ยิงคนอื่นเพื่อหารายได้ หรือเพียงแค่ให้สนุกสนานสะใจเล่น โดยไม่มีเหตุอันควร
ข้อสอง คือ
จะต้องตายเอง ด้วยโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมชาติ
ไม่ใช่เพราะถูกคนอื่นยิงตาย หรือถูกจับแขวนคอ
ทั้งสี่คนกล่าวคือ คนแรก วายแอ็ท
เอิ๊ร์ป ต่อมาได้แก่ แบ๊ท
ม้าสเตอร์สัน ตามด้วย ด๊อค ฮอลลิเดย์ และล่าสุดหนนี้ ลุค
ช้อร์ท ต่างเป็นผู้ที่จัดว่ามีคุณสมบัติครบทั้งสองข้อ
ส่วนที่เหลืออีกมากมายยังไม่ได้เล่าถึงนั้น
ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก๋าอย่าง ไวลด์ บิล ฮิกค็อก หรือโรบินฮู้ดฉบับคาวบอยอย่าง เจ๊สสี
เจมส์ หรือไอ้หนู บิลลี่ เดอะ คิด
หรือจอมโหด จอห์น เวสลี่ย์ ฮาร์ดิน ฯลฯ
ต่างขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้งสองข้อทั้งสิ้น
จึงขออนุญาตจบภาคแรกของ คาวบอยกับปืนคู่ใจ
ไว้แต่เพียงครั้งนี้ก่อนนะครับ หากท่านผู้อ่านยังคงสนใจ
ชอบอ่านเรื่องราวในรูปแบบนี้ ผมจะพยายามผลิตภาคสองตามออกมา
เพื่อบรรยายต่อถึงบรรดาคาวบอยชื่อดัง ที่จัดอยู่ในรุ่นหรือประเภทอื่นๆ
รวมทั้งปืนคู่ใจและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เกี่ยวข้อง ให้อ่านกันเพลินๆสนุกๆอีก
แล้วพบกันใหม่ในโอกาสหน้าครับ
มาร์แชลต่อศักดิ์
กันยายน 2544
กันยายน 2544